เมนส์มาน้อย ท้องไหม? ชวนดูสาเหตุและวิธีทำให้ประจำเดือนมาปกติ

เมนส์มาน้อย ท้องไหม? ชวนดูสาเหตุและวิธีทำให้ประจำเดือนมาปกติ

12 เมษายน 2024

Share on
เมนส์มาน้อย ท้องไหม? ชวนดูสาเหตุและวิธีทำให้ประจำเดือนมาปกติ1

เมนส์มาน้อย หรือประจำเดือนมาน้อย เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และไม่ได้เป็นสัญญาณของความผิดปกติร้ายแรงเสมอไป โดยอาจจะเกิดขึ้นแค่รอบเดือนเดียว หรือเกิดซ้ำหลายครั้ง

เมนส์มาน้อยเป็นภาวะที่มักพบในวัยรุ่นที่เพิ่งมีประจำเดือนไม่นาน หรือหญิงที่เข้าสู่วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน แต่สำหรับผู้ที่กังวลว่า เมนส์มาน้อย ท้องไหม ควรพิจารณาจากหลายปัจจัย และสุดท้ายควรได้รับการตรวจสอบด้วยวิธีที่มีมาตรฐานก่อนจะทำการสรุปได้ ก่อนอื่นเราลองมาศึกษาสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้เมนส์มาน้อยกันดีกว่า

แบบไหนที่เรียกว่าเมนส์มาน้อย?

เมนส์มาน้อย ท้องไหม? ชวนดูสาเหตุและวิธีทำให้ประจำเดือนมาปกติ2

โดยปกติแล้ว ระยะเวลาที่มีประจำเดือน จะอยู่ในช่วง 3-5 วัน แต่บางคนก็อาจจะมา 2-7 วันซึ่งยังถือว่าไม่ผิดปกติ แต่ลักษณะที่บ่งบอกว่าเมนส์มาน้อยกว่าปกติมีดังนี้

  • ระยะเวลาที่ประจำเดือนมาน้อยกว่า 2 วัน
  • ประจำเดือนมาเป็นปริมาณน้อยกว่าปกติมาก เช่น มีหยดเลือดเล็กน้อยเท่านั้น

โดยถ้าประจำเดือนมาน้อยอยู่บ่อย ๆ หรือมีภาวะประจำเดือนขาด ติดต่อกัน 3 รอบเดือนขึ้นไป ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

เมนส์มาน้อย เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง?

เมนส์มาน้อย ท้องไหม? ชวนดูสาเหตุและวิธีทำให้ประจำเดือนมาปกติ3

ถ้าคุณเป็นคนที่มีประจำเดือนมาในปริมาณปกติอย่างสม่ำเสมอ การมีอาการประจำเดือนมาน้อยกว่าปกติอาจจะบ่งบอกภาวะผิดปกติได้หลายอย่าง รวมทั้งสาเหตุที่อาจไม่ได้มีความร้ายแรง ดังต่อไปนี้

  • ช่วงวัย มีผลต่อระดับฮอร์โมนที่ควบคุมการเกิดประจำเดือน โดยช่วงวัยที่มักมีอาการประจำเดือนมาน้อยคือ วัยรุ่นที่เพิ่งมีประจำเดือนไม่นาน และเพศหญิงที่กำลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน มักเกิดขึ้นในช่วงอายุ 45-55 ปี
  • ความเครียด มีผลต่อระดับฮอร์โมนที่ควบคุมการเกิดประจำเดือน แต่เมื่อหายจากภาวะเครียดแล้วจะกลับมามีประจำเดือนตามปกติ 
  • น้ำหนักตัว เกิดขึ้นได้กับคนที่น้ำหนักเกิน และน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน เนื่องจากปริมาณไขมันในร่างกายและสารอาหารในร่างกาย ส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้ 
  • การตั้งครรภ์ เลือดที่พบจะไม่ใช่ประจำเดือนแต่เป็นเลือดล้างหน้าเด็ก สามารถพบในลักษณะเลือดกระปริบกระปรอยได้ ถ้าสงสัยการตั้งครรภ์ควรตรวจด้วยวิธีที่ได้รับมาตรฐาน หรือตรวจโดยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ
  • การให้นมบุตร เกิดจากการที่ฮอร์โมนที่กระตุ้นการผลิตน้ำนมไปยับยั้งการหลั่งของฮอร์โมนเพศ เป็นสาเหตุให้ไข่ตกช้า และเกิดภาวะประจำเดือนมาน้อยหรือประจำเดือนขาดได้
  • การใช้ยาคุมกำเนิดบางชนิด สามารถมีผลยับยั้งกระบวนการตกไข่ในเพศหญิง เป็นสาเหตุให้ประจำเดือนมาน้อย หรือเกิดภาวะประจำเดือนขาดได้ 
  • ถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ หรือ PCOS อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือประจำเดือนขาดได้
  • โรคไทรอยด์ อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือประจำเดือนขาดได้
  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ คือภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกแทรกตัวเข้าไปในกล้ามเนื้อผนังมดลูก อาจทำให้ผู้ป่วยมีประจำเดือนมามากหรือน้อยกว่าปกติได้
  • เกิดจากการเจ็บป่วย โรค หรือภาวะอื่น ๆ เช่น เนื้องอกในมดลูก ภาวะท้องนอกมดลูก ภาวะแท้ง โรคเบาหวาน และโรคมะเร็งอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ อาจทำให้เลือดไหลออกจากช่องคลอด และทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นเลือดประจำเดือนได้

เมนส์มาน้อยควรทำอย่างไร?

อาการเมนส์มาน้อยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้น จึงต้องทราบสาเหตุที่แท้จริงก่อนจะทำการรักษา และไม่ควรซื้อยารับประทานเองโดยเด็ดขาด

ถ้ามีอาการเมนส์มาน้อยกว่าปกติติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ควรเข้าพบแพทย์เพื่อได้รับการวินัจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม ส่วนผู้ที่สงสัยว่า เมนส์มาน้อย ท้องไหม สามารถซื้อที่ตรวจครรภ์มาตรวจด้วยตัวเอง หรือเข้ารับการตรวจการตั้งครรภ์โดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญได้

ปรึกษาไม่ระบุตัวตนผ่าน Talk to PEACH

วิธีทำให้ประจำเดือนมาปกติ

  • พยายามหลีกเลี่ยงการเกิดความตึงเครียด และสร้างความผ่อนคลาย ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ฝึกสมาธิ ฝึกโยคะ
  • เลือกรับประทานสารอาหารที่มีประโยชน์ ในปริมาณที่เหมาะสม 
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ไม่หนักเกินไป
  • รักษาน้ำหนักตัวและปริมาณไขมันในร่างกายไม่ให้สูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสารเสพติด

เมนส์มาน้อย ท้องไหม ยังกังวลใจ คุยกับ Talk to PEACH ได้เลย! 

Talk to PEACH Promo
ดาวน์โหลดแอป Talk to PEACH เพื่อปรึกษา


สามารถปรึกษาเรื่องทางเพศ รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับเพศได้อย่างสบายใจในทุก ๆ แง่มุม ไม่ต้องเปิดเผยชื่อ ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน สามารถรับคำปรึกษาได้ทันที หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องเพศ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Talk To PEACH: https://oci.ltd/1Od5sFB

ปัญหาเพศหญิง

สุขภาพเพศหญิง